Review Polymaker PC Polycarbonate: วัสดุ 3D Print สายสตรอง – X3D Technology
Cart 0

Review Polymaker PC Polycarbonate: วัสดุ 3D Print สายสตรอง

สำหรับเครื่องพิมพ์ 3 มิติระดับตั้งโต๊ะ (Desktop 3D printers) วัสดุพิมพ์ที่ใช้กันบ่อยๆมักหนีไม่พ้น ABS หรือ PLA งานต้นแบบและโมเดลทั่วไปก็มักจะใช้ PLA กันเป็นส่วนมาก หรือถ้าต้องการความแข็งแรงเพิ่มขึ้นก็สามารถขยับไปใช้ ABS ได้ แล้ววัสดุ Polycarbonate หรือ PC จะมาตอบโจทย์การใช้งานในส่วนไหน? ในรีวิวนี้เราจะแนะนำตัวอย่างการใช้งานและวิธีการสร้างชิ้นงานจากวัสดุ PC ด้วย 3D printer เพื่อตอบโจทย์การใช้งานเชิงอุตสาหกรรม

หมวกกันน็อคจักรยาน พิมพ์ด้วยวัสดุ PC-Plus

วัสดุ PC ถือเป็นพลาสติกวิศวกรรมซึ่งมีความแข็งแรงทนทานเหนือวัสดุพิมพ์ 3 มิติประเภทอื่นๆ เช่น ABS หรือ PETG ทำให้ PC ถูกใช้งานอย่างกว้างขวางในหลายอุตสาหกรรม เช่นใช้ทำแผ่น CD และหมวกกันน็อค Safety ที่วิศวกรในโรงงานใส่กัน นอกจากนี้ยังใช้ทำวัสดุก่อสร้างและกระจกกันกระสุนอีกด้วย ถือว่าเป็นวัสดุที่มีความเหนียวและทนทานมากทีเดียว

แม่แรงยกรถ พิมพ์ด้วยวัสดุ PC-Max

แต่เดิม PC เป็นวัสดุที่พิมพ์ขึ้นรูปได้ยาก เนื่องจากใช้ความร้อนในการหลอมละลายสูงกว่า 300 C และมีอัตราการหดตัวสูง จึงต้องพิมพ์กับเครื่อง 3D printer แบบอุตสาหกรรมเท่านั้นจึงจะพิมพ์ได้สำเร็จ ทางบริษัท Polymaker จึงได้ร่วมมือกับบริษัท Covestro (Bayer Material Science) เพื่อพัฒนาวัสดุ PC แบบใหม่ที่พิมพ์ง่าย เหมาะสำหรับใช้กับ 3D printer แบบตั้งโต๊ะทั่วไป สามารถพิมพ์ขึ้นรูปได้ที่อุณหภูมิเพียง 250 ~ 270 C และมีคุณสมบัติเหนือกว่าพลาสติก 3D printing อื่นๆในตลาด โดยได้พัฒนาวัสดุ PC สองชนิดคือ PC-Plus (เน้นความแข็งและมีสีใส) และ PC-Max (เน้นความถึกทนต่อแรงกระแทก)

เปรียบเทียบคุณสมบัติวัสดุ PC กับ ABS/PLA

Tensile Strength / Bending Strength (ความต้านทานแรงดึง / แรงบิด) ที่เหนือกว่า ABS และ PLA

PC-Max ทนทานต่อแรงกระแทก (Impact resistance) สูงกว่า ABS ถึงสองเท่า

ทนอุณหภูมิได้สูงกว่า 110 C แช่น้ำเดือดได้สบายๆ

วัสดุ Polymaker PC ใช้ทำอะไรได้บ้าง?

ด้วยความแข็งแรงที่โดดเด่นของวัสดุ PC ซึ่งแตกต่างกับ ABS หรือ PLA ที่เน้นใช้ทำชิ้นงานต้นแบบ (Prototype) เป็นหลัก จึงเหมาะกับการทำชิ้นงานที่นำไปใช้จริง ในสภาพที่ต้องรับโหลด โดนแรงกระแทก หรือในพื้นที่ความร้อนสูง เช่นใช้งานในไลน์ผลิต ทำชิ้นส่วนเครื่องจักร กล่องไฟ เคสกันกระแทก ฝาครอบโคมไฟ ชิ้นส่วนอุตสาหกรรมต่างๆ

  • General industrial parts
  • Jigs, grips and fixtures
  • Mounting plates
  • Thermoforming molds
  • Frames and supporting structures
  • Brackets and clamps
  • Protective covers / enclosures
  • Lighting fixtures / lamp covers
  • High heat environment

ทดสอบความแข็งแรงของวัสดุ PC-Max ใช้พิมพ์ตะขอ ยกน้ำหนักได้มากกว่า 800 kg

วัสดุ PC-Plus มีความโปร่งแสง (Optically clear) เหมาะสำหรับชิ้นงานที่ต้องการความใส

การใช้งานวัสดุ Polymaker PC

ทั้ง PC-Max และ PC-Plus มีวิธีการพิมพ์ขึ้นรูปเหมือนๆกัน ถ้าให้เปรียบเทียบต้องบอกว่ามีวิธีพิมพ์คล้ายกับ ABS คือใช้ความร้อนสูง และต้องระวังไม่ให้พลาสติกเย็นตัวเร็วเกิน โดยมีขั้นตอนดังนี้

1. ตั้งความร้อนหัวฉีดที่ 255 C

2. ตั้งความร้อนฐานพิมพ์ที่ 80 C (หากชิ้นงานใหญ่อาจเพิ่มได้ถึง 100 C)

3. ควรพิมพ์โดยใช้ Raft และตั้ง Raft separation distance ไว้ที่ 0.3 mm

4. ใช้แผ่น BuildTak เป็นวัสดุรองฐานพิมพ์ ช่วยให้ชิ้นงานติดแน่นไม่หลุด

5. ปิดพัดลมเป่าชิ้นงาน เพื่อไม่ให้พลาสติกหดตัวเร็วเกินไป และควรพิมพ์ด้วย 3D Printer ชนิดมีฝาปิดสนิททุกด้าน (หากใช้เครื่องชนิดไม่มีฝาปิด ควรพิมพ์นอกห้องแอร์)

6. ตั้งความเร็วการพิมพ์ที่ 30 ~ 90 mm/s หากต้องการพิมพ์ที่ความเร็วสูง ควรเพิ่มความร้อนหัวฉีดตามไปด้วย

*หลังพิมพ์งานสามารถนำชิ้นงานไปอบเพื่อเพิ่มความแข็งแรง และลดโอกาสที่ชิ้นงานจะเกิดการแตกหัก โดยให้ใส่ชิ้นงานในเตาอบที่ความร้อน 100 องศาเป็นเวลา 1 ชั่วโมง*



Older Post Newer Post


Leave a comment

Please note, comments must be approved before they are published