เกาหลีใต้ผลิตสื่อการสอนด้วย 3D Printing – X3D Technology
Cart 0

เกาหลีใต้ผลิตสื่อการสอนด้วย 3D Printing

เป็นที่ทราบกันดีว่าเทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติถูกนำไปใช้ในหลากหลายวงการ หนึ่งในนั้นก็คือวงการการศึกษา ล่าสุดที่เกาหลีใต้ มีการนำเทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติไปใช้ผลิตสื่อการสอนสำหรับนักเรียนผู้มีความบกพร่องทางการมองเห็นหรือผู้พิการทางสายตา โครงการนี้เกิดขึ้นจากการที่ทีมนักวิจัยได้เล็งเห็นปัญหาการขาดแคลนเครื่องมือหรือสื่อการสอนสำหรับคนตาบอด 

      

สื่อการสอนสำหรับคนตาบอดแบบดั้งเดิม มีลักษณะเป็นอักษรเบรลพิมพ์บนกระดาษธรรมดา

ทีมนักวิจัยนำโดย Jang Hee I ได้ทำการออกแบบเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ช่วยในการอ่านและเขียนสำหรับนักเรียนตาบอด ด้วยลักษณะเด่นของ 3D printing จึงสามารถออกแบบ customize อุปกรณ์และสื่อการสอนต่างได้อย่างไม่มีข้อจำกัด ทำให้นักเรียนสามารถจินตนาการภาพตัวอักษรฮันกึล หรือตัวอักษรเกาหลี และพัฒนาทักษะการเขียนให้ดีขึ้นได้

โครงการวิจัยเริ่มจากการออกสำรวจ ณ Seoul National School for the Blind ว่ามีความขาดแคลนในสื่อการเรียนการสอนมากน้อยเพียงใด ตรงไหนต้องปรับปรุงบ้าง จากนั้นทีมจึงทำการออกแบบอุปกรณ์ช่วยในการเขียน อุปกรณ์นี้มีลักษณะเป็นแผ่นพลาสติก ฉลุลายเป็นตัวอักษรภาษาเกาหลี ให้นักเรียนเขียนตามได้อย่างถูกต้องสวยงาม ด้านข้างเป็นอักษรเบรล 3 มิติที่มีคำอ่านเหมือนกัน เรียกว่าเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยในการอ่านและเขียนในชิ้นเดียวกัน ซึ่งถูกนำไปถูกทดลองใช้จริงกับนักเรียนอนุบาลว่าสามารถพัฒนาการเขียนได้หรือไม่ อย่างไร

ทีมวิจัยได้ออกแบบสื่อการสอนในลักษณะนี้สำหรับ 24 ตัวอักษร โดยมีจุดมุ่งหมายในการยกระดับสื่อการสอนแบบดั้งเดิมที่เป็นเพียงอักษรเบรลพิมพ์นูนบนกระดาษธรรมดา ซึ่งจากผลตอบรับจากนักเรียนได้พบว่า สื่อการสอนที่ผลิตด้วยการพิมพ์ 3 มิติมีข้อดีหลายประการเทียบกับสื่อการสอนแบบกระดาษ ก็คือแผ่นพลาสติกมีความมั่นคงกว่าในการลากเส้น เพราะกระดาษมักจะเลื่อนและขาดง่าย นอกจากนั้นแผ่นพลาสติกสามารถใช้ซ้ำได้หลายครั้ง และช่วยลดต้นทุนการผลิตสื่อสารสอนลงได้มาก และผู้สอนสามารถออกแบบเครื่องมือใหม่ๆ สำหรับนักเรียนได้ตลอดเวลา และพิมพ์ออกมาใช้เมื่อไหร่ก็ได้ 

การเขียนตัวอักษรฮันกึลก่อนใช้สื่อการสอนที่ผลิตโดยวิธีการพิมพ์ 3 มิติ

การเขียนมีพัฒนาการอย่างชัดเจนหลังการใช้สื่อการสอนที่ผลิตโดยการพิมพ์ 3 มิติ จะเห็นว่าเส้นมีความมั่นคงและตรงมากขึ้น

จากผลตอบรับที่ประสบความสำเร็จ ทีมวิจัยจะยังคงพัฒนาการผลิตสื่อการสอนให้หลากหลายมากขึ้น เช่นตัวอักษรภาษาอื่นๆ หรืออุปกรณ์ที่ช่วยสอนให้นักเรียนเข้าใจสัญญาณจราจรต่างๆ เห็นได้ว่าเทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติ เข้ามามีบทบาทมากขึ้นเรื่อยๆ ในวงการการศึกษา ไม่ว่าจะเป็นการเขียนตัวอักษร การเขียนตัวโน๊ตเพลง แผนที่ หรือหนังสือภาพสำหรับเด็ก เรียกว่าเป็นการเพิ่มสีสันในการเรียนหนังสือสำหรับนักเรียนผู้พิการทางสายตาด้วยการเปิดโลกทัศน์ให้พวกเขาอย่างแท้จริง ในขณะเดียวกันผู้สอนเองก็สามารถใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างสื่อการสอนแบบใหม่ๆ ได้ตลอดเวลาอีกด้วย 

Source: http://3dprintnerd.com/2016/07/3d-printed-literacy-tools-help-visually-impaired-children-learn-korean-alphabet-3ders-org-blog/



Older Post Newer Post


Leave a comment

Please note, comments must be approved before they are published