3D Printer ราคา 7,000 กับ 700,000 ต่างกันอย่างไร? – X3D Technology
Cart 0

3D Printer ราคา 7,000 กับ 700,000 ต่างกันอย่างไร?

ในปัจจุบันเครื่องพิมพ์ 3 มิติ (3D Printer) แบบ DIY / Hobby มีการพัฒนากว่าแต่ก่อนอย่างมาก สามารถหาซื้อได้ในราคาเริ่มต้นหลักพันบาท ทำให้การใช้งาน 3D Printer ในบ้านและในธุรกิจได้รับความนิยมมากขึ้น คำถามคือทำไมเราต้องไปซื้อเครื่องพิมพ์ราคาสูงถึงหลักแสนหลักล้าน ในเมื่อมีเครื่องพิมพ์ราคาถูกๆให้เลือกใช้ตั้งเยอะ? เป็นคำถามที่ตอบได้หลายแง่มุม แต่ประเด็นสำคัญคือการเลือกใช้เครื่องมือให้เหมาะสมกับงาน เหมือนกับการถามว่าจะเดินทางไปต่างจังหวัดทำไมต้องขับรถไปให้เปลืองน้ำมัน ในเมื่อปั่นจักรยานไปก็ได้โดยไม่ต้องเสียเงินสักบาท

หากลองสังเกตตลาดผู้ใช้งานเครื่องพิมพ์ระดับ Hobby ส่วนมากยังเป็นการใช้ผลิตชิ้นงานต้นแบบ ของเล่น ของตกแต่งบ้าน และยังคงพบปัญหาหลายรูปแบบที่มีมาแล้วเป็นสิบปี ถึงปัจจุบันก็ยังแก้กันไม่หาย ตัวอย่างเช่น

  • งานพิมพ์เสียบ่อย หัวฉีดตัน งานหลุดฐานปริ้น
  • เครื่องเสียบ่อย ต้อง Maintenance เป็นประจำ ทำให้งานล่าช้า
  • ชิ้นงานพิมพ์ไม่แม่นยำ ประกอบกันไม่ได้ ต้องปริ้นซ้ำหลายรอบ
  • ชิ้นงานพิมพ์ออกมาแล้วไม่แข็งแรง เปราะหักง่าย ใช้งานจริงไม่ได้
  • ชิ้นงานมีผิวหยาบ ต้องเสียเวลาขัดแต่งหลายชั่วโมง

ด้วยข้อจำกัดดังกล่าว ทำให้ผู้ใช้งานหลายรายเริ่มมองหา 3D Printer ที่สามารถผลิตงานที่นำไปใช้ได้จริงๆ ใช้งานง่าย มีมาตรฐาน ซึ่งเครื่องพิมพ์ระดับอุตสาหกรรมสามารถตอบโจทย์ได้ดีกว่า ตลาด 3D Printer จึงแบ่งเป็นสองส่วน คือเครื่องพิมพ์แบบอุตสาหกรรม (Professional) กับเครื่องแบบใช้ในบ้าน (Hobby) ว่ากันตามจริงแล้ว เครื่องพิมพ์ทั้งสองแบบไม่ได้ต่างกันที่ Hardware เพียงอย่างเดียว แต่ต้องพิจารณาถึงซอฟท์แวร์ วัสดุพิมพ์ และบริการหลังการขายด้วย ซึ่งในบทความนี้จะเปรียบเทียบกันทีละข้อ

Download e-Book ฟรี: The Real Difference Between Hobbyist and Professional 3D Printers

Hardware

Markforged 3D printer ใช้โครงสร้างอลูมิเนียมแบบชิ้นเดียว เพิ่มความแข็งและต้านทานแรงบิดและการสั่นสะเทือน

Professional 3D Printer Hobby 3D Printer
  • ใช้โครงสร้างอลูมิเนียม Uni-body เพิ่มความแข็งแรง รองรับการใช้งานหนักระยะยาว ลดการสั่นสะเทือน พร้อมชิ้นส่วน Precision Machined
  • ฐานพิมพ์ใช้วัสดุ Ceramic Composite ใช้งานได้ระยะยาวโดยไม่ต้องเปลี่ยน รองรับวัสดุพิมพ์หลายแบบ
  • ระบบการฉีดวัสดุออกแบบให้มีความแข็งแรงเป็นพิเศษ เพื่อรองรับวัสดุพิมพ์แบบ Composite ลดการสึกหรอของชิ้นส่วน
  • มีระบบ Sensor ตรวจจับการทำงานผิดปกติ และระบบแจ้งเตือนการเปลี่ยนชิ้นส่วนอะไหล่ล่วงหน้า (Predictive Maintenance)
  • ใช้ชิ้นส่วนราคาถูก เช่น Aluminium Profile เป็นโครงสร้าง ทำให้เกิดการสั่นระหว่างพิมพ์งาน ส่วนมากมีโครงสร้างแบบเปิด บางรุ่นต้องประกอบเครื่องเอง
  • ฐานพิมพ์เป็นวัสดุกระจก แตกหักได้ง่าย หรือแผ่น PEI ซึ่งต้องเปลี่ยนตามการสึกหรอ
  • ผู้ใช้งานต้องคอยเฝ้าสังเกตปัญหาการใช้งาน และ Maintenance เครื่องด้วยตนเอง
  • มี Option ในการอัพเกรดเครื่องเยอะ แต่ผู้ใช้งานต้องทดลองด้วยตนเองทั้งหมด

Software

ตัวอย่างการทำงานของ Blacksmith Software ในเครื่อง Markforged สำหรับวัด Dimension ชิ้นงานอัตโนมัติ

Professional 3D Printer Hobby 3D Printer
  • มี Software ระบบ Cloud สามารถควบคุม สั่งงาน ดูสถานะได้ทาง Internet (Real-time monitoring)
  • มีการปรับจูนค่าการพิมพ์ที่เหมาะสมมาให้แล้วจากผู้ผลิต ผู้เริ่มต้นสามารถเริ่มพิมพ์งานได้ง่ายที่สุด โดยยังเปิด Option ให้ตั้งค่าเพิ่มเติมได้สำหรับผู้ใช้งานระดับ Advanced
  • ระบบ Digital Inventory สามารถเก็บไฟล์งาน 3D บน Cloud ง่ายต่อการทำงานร่วมกับทีมงานในบริษัท มีระบบ Version Control เพื่อเช็คประวัติการแก้ไขไฟล์
  • มีการรักษาความปลอดภัยข้อมูลด้วย Data Encryption ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO 27001
  • มีฟังก์ชั่นการทำงานขั้นสูง เช่นการ Simulation ความแข็งแรงของชิ้นงานก่อนพิมพ์ และการตรวจสอบความแม่นยำของชิ้นงานโดยอัตโนมัติ (Inspection)
  • สามารถเลือกใช้ Software Open-source หลายประเภทเช่น Cura, PrusaSlicer, Simplify3D ซึ่งมีตัวเลือก Setting ให้ใช้เยอะมาก
  • ผู้ใช้งานต้องเรียนรู้การใช้งานและลองผิดลองถูกด้วยตนเอง
  • ต้องตั้งค่าโปรแกรมใหม่หากมีการเปลี่ยนชนิดวัสดุ หรือเปลี่ยนรุ่นเครื่องพิมพ์ที่ใช้
  • ส่งข้อมูลโดยใช้ SD Card หรือ USB Flash Drive ต้องหา Software Plugin มาติดตั้งเพิ่มเอง หากต้องการสั่งงานผ่าน Cloud

Materials

ชิ้นงานจาก Markforged 3D printer ให้คุณภาพงานและความแข็งแรงสูงสุด

Professional 3D Printer Hobby 3D Printer
  • ส่วนมากรองรับเฉพาะวัสดุที่พิมพ์ได้ง่ายเช่น PLA หรือ PETG
  • พิมพ์วัสดุวิศวกรรมได้จำกัด ต้องอาศัยการ Modify เครื่องเอง เช่นติด Heater หากล่องครอบ เปลี่ยนหัวฉีด เปลี่ยนแผ่นรองฐานพิมพ์ ฯลฯ
  • ต้องทำการปรับจูนค่าการพิมพ์เอง เมื่อมีการเปลี่ยนชนิดหรือยี่ห้อวัสดุ
  • วัสดุบางยี่ห้อที่มีราคาถูกอาจพบปัญหาคุณภาพ เช่นความแข็งแรงหรือขนาดเส้นพลาสติกของวัสดุแต่ละม้วนอาจไม่เท่ากัน

After-Sales Services

การอบรมการใช้ 3D Printer ขั้นสูง (Markforged University)

Professional 3D Printer Hobby 3D Printer
  • มีบริการหลังการขายครบวงจร รวมถึงบริการติดตั้ง อบรมการใช้งาน การรับประกันครอบคลุมอะไหล่และชิ้นส่วนสึกหรอ
  • มีบริการซ่อม On-site ถึงที่ โดยวิศวกรที่ได้รับการรับรองจากบริษัทผู้ผลิต
  • มีบริการตรวจเช็คสภาพเครื่อง และ Predictive Maintenance ตามระยะการใช้งาน ใช้งานได้แบบไม่สะดุด
  • มีคอร์สเรียนเทคโนโลยี 3D Printing เช่น Markforged University ให้ผู้ใช้งานได้เรียนรู้เทคนิคและการใช้งานให้เกิดประโยชน์จากเครื่องพิมพ์ได้สูงสุด
  • ผู้ใช้งานต้องเรียนรู้การใช้งานและติดตั้งเครื่องด้วยตนเอง หรือสอบถามจาก Community ผู้ใช้งานที่มีอยู่จำนวนมาก
  • ผู้ใช้งานต้องทำการ Maintenance เปลี่ยนอะไหล่ และแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นด้วยตนเองเกือบทั้งหมด
  • กรณีส่งซ่อม ต้องยกเครื่องไปที่ร้านผู้จำหน่ายหรือส่งกลับไปที่ผู้ผลิตในต่างประเทศ

"เราควรเลือกใช้ 3D Printer แบบไหนดี? เป็นคำถามที่ตอบไม่ยาก ขึ้นอยู่กับว่าเราต้องการผลลัพธ์แบบไหน หากมีเวลาว่างและต้องการหางานอดิเรก ก็สามารถเลือกใช้เครื่องพิมพ์แบบ Hobby ได้ แต่ถ้าอยากได้เครื่องมือผลิตชิ้นส่วนที่ไว้ใจได้ ต้องการประหยัดเวลา ก็ควรเลือกเครื่องพิมพ์แบบ Professional"

สนใจสั่งซื้อหรือสอบถามเกี่ยวกับ 3D Printer ติดต่อบริษัท พลวัตร จำกัด

Tel: 087-509-0541, 092-265-4901
Line: @x3dprint
Email: sales@x3dtechnology.com



Older Post Newer Post


Leave a comment

Please note, comments must be approved before they are published