Raft / Skirt / Brim คืออะไร? และใช้ในกรณีใดบ้าง – X3D Technology
Cart 0

Raft / Skirt / Brim คืออะไร? และใช้ในกรณีใดบ้าง

นอกจากการสร้าง Support structure เพื่อรองรับชิ้นงานแล้ว 3D Printer ยังสามารถสร้างส่วนประกอบเพิ่มเติมอื่นๆซึ่งช่วยในการพิมพ์งานสามมิติ ในบทความนี้เราจะพูดถึงเทคนิคการพิมพ์งานโดยใช้ Raft, Skirt และ Brim และสถานการณ์ที่เหมาะสมในการใช้งานแต่ละฟังก์ชั่น

1. Raft

Raft แปลตรงตัวก็คือ "แพ" เป็นเสมือนแผ่นรองชิ้นงาน โดยเครื่องพิมพ์จะทำการพิมพ์ Raft ก่อนซึ่งเป็นแผ่นพลาสติกหนา 3-4 ชั้น ก่อนจะเริ่มต้นพิมพ์ชิ้นงานลงบนแผ่น Raft ดังกล่าว การพิมพ์โดยใช้ Raft ช่วยให้ชิ้นงานเล็กๆหรือชิ้นงานที่มีพื้นที่สัมผัสน้อยเกาะกับฐานพิมพ์ได้ดีขึ้น ไม่หลุดระหว่างพิมพ์ และยังมีประโยชน์เวลาพิมพ์ด้วยเส้น ABS ซึ่งมีการหดตัวสูง เพราะช่วยป้องกันการโก่งตัวของขอบชิ้นงาน ข้อเสียก็คือใช้เวลาพิมพ์และใช้วัสดุมากขึ้น และอาจทำให้ผิวชิ้นงาน layer แรกเป็นรอยได้ ไม่เรียบเนียนเหมือนการพิมพ์ลงบนฐานพิมพ์ตรงๆ

 

2. Skirt

การพิมพ์ Skirt หรือขอบกระโปรง เป็นการพิมพ์ outline ของรูปทรงชิ้นงาน โดย skirt จะพิมพ์ห่างจากชิ้นงานเล็กน้อย และมักจะพิมพ์วนประมาณ 3-4 รอบ การใช้ skirt ไม่ได้ช่วยให้ชิ้นงานเกาะติดฐานพิมพ์ดีขึ้น แต่เป็นการ "Warm-up" หัวฉีด ช่วยให้พลาสติกไหลออกจากหัวฉีดได้อย่างไหลลื่นไม่สะดุด เป็นการ "เตรียมความพร้อม" ให้หัวฉีดก่อนจะเริ่มพิมพ์ชิ้นงานจริงนั่นเอง

 

3. Brim

Brim มีลักษณะคล้ายกับ skirt คือเป็นการพิมพ์พลาสติกเป็นวงรอบชิ้นงาน แต่ต่างตรงที่ brim จะพิมพ์ชิดขอบแตะตัวชิ้นงานโดยตรง เพื่อให้ชิ้นงานมีพื้นผิวสัมผัสกับฐานพิมพ์มากขึ้น ทำให้เกาะตัวดีขึ้นนั่นเอง (มีลักษณะเหมือนปีกหมวก) เมื่อพิมพ์ชิ้นงานเสร็จแล้วก็สามารถแกะส่วน brim ออกได้

 

จากประสบการณ์ของเรา หากฐานพิมพ์มีการตั้งระดับที่ดี เตรียมพื้นผิวอย่างเหมาะสม (เช่นทากาว แปะเทป) และตั้งอุณหภูมิที่ถูกต้อง ชิ้นงานมักจะไม่มีปัญหาเรื่องการเกาะติดฐานพิมพ์ จึงใช้แต่ skirt เพื่อเตรียมความพร้อมหัวฉีดก็เพียงพอ ยกเว้นชิ้นงานมีขนาดเล็ก หรือมีหน้าสัมผัสเล็กมาก อาจใช้ raft หรือ brim ช่วยเพื่อเพิ่มความมั่นคงขณะพิมพ์

Image Credit: Simplify3D



Older Post Newer Post


  • lee on

    Kiflee

  • plee on

    Plee


Leave a comment

Please note, comments must be approved before they are published