8 วิธีพิมพ์ชิ้นงาน ABS ให้สำเร็จทุกครั้ง – X3D Technology
Cart 0

8 วิธีพิมพ์ชิ้นงาน ABS ให้สำเร็จทุกครั้ง

ABS (Acrylonitrile Butadiene Styrene) เป็นพลาสติกที่มีการใช้งานอย่างกว้างขวางในอุตสาหกรรม เนื่องจากเป็นวัสดุที่แข็งแรง สามารถรับแรงกระแทก ทนความร้อนได้สูง จึงมีการนำไปใช้ผลิตสินค้าหลากหลายชนิด เช่นของเล่น LEGO อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และกันชนรถยนต์ ในบทความสั้นๆนี้เราจะมาพูดถึงเทคนิคการพิมพ์วัสดุ ABS ด้วยเครื่องพิมพ์ 3 มิติ (3D Printer) เพื่อให้ได้ชิ้นงานที่สมบูรณ์และมีคุณภาพสูงที่สุด

Image Source: 3D Hubs

การหดตัวของ ABS มีผลอย่างไร?

ถึงแม้ ABS จะเป็นวัสดุที่มีคุณสมบัติเหนือกว่าพลาสติกประเภทอื่นๆ มีราคาถูกและหาซื้อได้ง่าย แต่ผู้ใช้ 3D printer จำนวนมากก็ยังเลือกใช้งานเฉพาะวัสดุ PLA (Polylactic Acid) เหตุผลที่หลายคนหลีกเลี่ยงการพิมพ์ด้วย ABS เป็นเพราะว่า ABS นั้น "พิมพ์ยาก" เมื่อเทียบกับ PLA โดยมีสาเหตุหลักคืออัตราการหดตัว (Shrinkage) ที่สูงของ ABS ทำให้เกิดปัญหาสองอย่างนี้เวลาใช้งาน

 

1. Warping / ขอบชิ้นงานโก่ง เกิดจากการที่พลาสติกชั้นล่างของชิ้นงานหดตัว เกิดแรงดึงที่ทำให้ขอบชิ้นงานงอขึ้นจากฐานพิมพ์ ชิ้นงานที่ออกมาจึงมีขอบไม่เรียบดังรูป

Image Source: 3D Hubs

2. Delamination / Layer ชิ้นงานแยกตัว เกิดจากการหดตัวของพลาสติก ทำให้ชั้น Layer ของชิ้นงานมีแรงดึงแยกออกจากกัน เกิดเป็นรอยแตกด้านข้างชิ้นงาน

Image Source: 3D ProtoTech

8 วิธีพิมพ์ชิ้นงาน ABS ให้สำเร็จทุกครั้ง

ลองใช้ 8 เทคนิคง่ายๆต่อไปนี้เพื่อให้ชิ้นงาน ABS พิมพ์ออกมาสวยเนียน ปราศจากปัญหาข้างต้น

1. ตั้งระดับฐานพิมพ์ให้ดี

การตั้งระดับฐานพิมพ์ให้เหมาะสมมีความสำคัญมากในการใช้งานเครื่องพิมพ์ 3 มิติ ในการพิมพ์ ABS ควรตั้งระดับฐานให้ชิดกับหัวฉีดมากเป็นพิเศษ เพื่อทำการ "บี้" พลาสติกชั้นแรกให้ติดแน่นกับฐานพิมพ์ โดยควรมีช่องว่างระหว่างฐานพิมพ์และหัวฉีดประมาณ 0.1 mm ดูวิธีปรับระดับฐานพิมพ์ได้ที่นี่

Image Source: Tiertime

2. เลือกใช้เครื่องพิมพ์ 3 มิติที่มีฝาปิดมิดชิด

เครื่องพิมพ์ 3 มิติที่มีฝาปิดทุกด้านจะได้เปรียบในการพิมพ์ ABS เพราะสามารถรักษาอุณหภูมิในห้องพิมพ์ให้อุ่นอยู่ตลอดเวลาที่พิมพ์งาน ทำให้เส้น ABS ที่ฉีดออกมาไม่เย็นเร็วเกินจนหดตัว แก้ปัญหาทั้ง Warping และ Delamination หากเครื่องพิมพ์ไม่มีฝาปิด สามารถใช้วิธีเอาถุงพลาสติกหรือกล่องใหญ่ๆคลุมเครื่องพิมพ์ไว้ และใช้งานนอกห้องแอร์

เครื่องพิมพ์ 3 มิติ UP BOX+ มีฝาปิดสนิททุกด้าน ทำให้พิมพ์ ABS ได้คุณภาพสูง
Image Source: Tiertime

3. ตั้งความร้อนที่ฐานพิมพ์ให้เพียงพอ

"ฐานพิมพ์ทำความร้อน" เป็นสิ่งจำเป็นในการพิมพ์ด้วย ABS ควรตั้งอุณหภูมิฐานพิมพ์ประมาณ 90-100 องศา เพื่อช่วยให้ชั้นล่างของชิ้นงานไม่เย็นตัวเร็วเกิน ป้องกันไม่ให้ขอบชิ้นงานงอ ถ้าให้ดีควรเปิดความร้อนฐานพิมพ์ก่อนเริ่มพิมพ์สัก 15 นาที เพื่อให้อุณหภูมิในเครื่องอุ่นที่สุด

4. ตั้งความร้อนหัวฉีดให้เหมาะสม

การพิมพ์ ABS ต้องใช้อุณหภูมิสูงกว่า PLA ให้ลองเริ่มต้นที่อุณหภูมิ 230 C แล้วปรับขึ้นหรือลงทีละ 5 องศาตามความเหมาะสม หากพิมพ์ด้วยความร้อนสูงเกินไปจะทำให้ขอบชิ้นงานบิดเบี้ยว และอาจมีเส้นใยพาดตามชิ้นงานมากขึ้น หากพิมพ์ไม่ร้อนพอชิ้นงานจะมีผิวขรุขระ Layer ไม่ติดกันหรือดึงออกจากกันได้ง่าย โดย ABS ทั่วไปจะมีอุณหภูมิที่เหมาะสมอยู่ในช่วง 230 - 240 C

Image Source: Simplify3D

5. เตรียมพื้นผิวฐานพิมพ์ให้เหมาะสม

การเตรียมพื้นผิวฐานพิมพ์คือการใช้อุปกรณ์หรือสารเคมีเพื่อช่วยให้ชิ้นงานติดแน่นมากขึ้น โดยมีตัวเลือกหลายอย่าง เช่นเทปกาว กาวแท่ง กาวน้ำ เสปรย์ฉีดผม สำหรับการพิมพ์ ABS แนะนำให้ใช้หนึ่งในวิธีดังนี้

  • สารละลายกาวน้ำ ใช้กาวน้ำ Scotch / TOA 1 ส่วนละลายในน้ำเปล่า 3 ส่วน ทาบนฐานพิมพ์ก่อนเริ่มพิมพ์
  • เสปรย์ฉีดผม ชนิดแข็งระดับสูงสุด ฉีดบนฐานพิมพ์ก่อนเริ่มพิมพ์ ใช้งานง่าย ทำความสะอาดง่าย
  • แผ่นรองฐานพิมพ์ชนิดพิเศษ เช่น BuildTak เป็นแผ่นรองชนิดพิเศษ สามารถยึดเกาะชิ้นงานได้โดยไม่ต้องใช้สารเคมีอื่นๆช่วย

แผ่นรองฐานพิมพ์เช่น BuildTak ช่วยยึดติดชิ้นงานได้ดี ใช้งานง่ายกว่าการทากาวหรือแปะเทป
Image Source: BuildTak

7. ใช้ตัวช่วยยึดเกาะชิ้นงาน

ใช้ตัวช่วยใน Slicer Software เช่น Raft หรือ Brim เพื่อช่วยยึดชิ้นงานให้ติดกับฐาน มีประโยชน์กรณีพิมพ์ชิ้นงานขนาดใหญ่

การใช้ Raft ช่วยให้ชิ้นงาน ABS เกาะฐานพิมพ์ได้ดีขึ้น
Image Source: Nick Lievendag

6. พิมพ์ให้ช้ากว่าปกติ

ABS มีความหนืดกว่า PLA จึงควรใช้พิมพ์ให้ช้ากว่าเล็กน้อย โดยเฉพาะถ้าชิ้นงานมีมุมแหลมและรายละเอียดเยอะ ควรตั้งความเร็วไม่เกิน 40-50 mm/s เพื่อคุณภาพงานที่ดี

8. เปิดพัดลมเป่าชิ้นงาน (เบาๆ)

ข้อสุดท้ายนี้อาจขัดกับความเข้าใจของหลายๆคน เป็นที่เข้าใจกันว่าการพิมพ์ ABS ไม่ควรใช้พัดลมเป่าชิ้นงาน เพราะทำให้พลาสติกเย็นเร็วขึ้น ทำให้เกิดการโก่งงอหลุดจากฐานพิมพ์ได้ง่าย แต่ความจริงแล้วการใช้พัดลมไม่มีผลกับชิ้นงานตราบใดที่ "ลมที่เป่าใส่ชิ้นงานเป็นลมร้อน" การใช้พัดลมทำให้ชิ้นงานออกมาสวยขึ้นด้วยเพราะช่วยระบายความร้อนส่วนเกิน โดยเฉพาะส่วน Overhang / Bridging จะพิมพ์ได้เนียนกว่าการไม่ใช้พัดลม และช่วยให้แกะ Raft กับ Support ได้ง่ายขึ้น การใช้พัดลมสำหรับพิมพ์ ABS จะได้ผลดีก็ต่อเมื่ออากาศในเครื่องพิมพ์ค่อนข้างร้อน กล่าวคือต้องตั้งความร้อนที่ฐานพิมพ์แรงๆ และปิดฝาเครื่องพิมพ์ให้มิดชิด
 

ชมเทคนิคในการพิมพ์ ABS ไปแล้ว จะเห็นว่าแต่ละวิธีนั้นไม่ยากเลย หากใครมีประสบการณ์ที่ไม่ดีกับการใช้ ABS ลองเอาวิธีในบทความนี้ไปทดลองใช้ดู อาจจะแปลกใจว่าจริงๆแล้ว ABS ไม่ได้พิมพ์ยากอย่างที่คิด ติดตามความรู้และเทคนิคในการใช้ 3D Printer ใหม่ๆได้ในเว็บไซต์ X3D ครับ



Older Post Newer Post


  • xmqmyhoeo on

    8 วิธีพิมพ์ชิ้นงาน ABS ให้สำเร็จทุกครั้ง – X3D Technology
    axmqmyhoeo
    [url=http://www.gu83q23th30l700n98xfocd6z1196prcs.org/]uxmqmyhoeo[/url]
    xmqmyhoeo http://www.gu83q23th30l700n98xfocd6z1196prcs.org/

  • jdxjbfxfo on

    8 วิธีพิมพ์ชิ้นงาน ABS ให้สำเร็จทุกครั้ง – X3D Technology
    jdxjbfxfo http://www.g958pe81g7i0d958gzqw601h37ym3fyus.org/
    ajdxjbfxfo
    [url=http://www.g958pe81g7i0d958gzqw601h37ym3fyus.org/]ujdxjbfxfo[/url]

  • alexiyo on

    http://mewkid.net/when-is-xuxlya/ – Amoxicillin Online Amoxicillin 500 Mg fdr.wjgd.×3dtechnology.com.zte.ym http://mewkid.net/when-is-xuxlya/

  • popejutpei on

    http://mewkid.net/when-is-xuxlya/ – Buy Amoxil Amoxicillin 500 Mg wnz.yott.×3dtechnology.com.pjl.lh http://mewkid.net/when-is-xuxlya/

  • itehide on

    http://mewkid.net/when-is-xuxlya/ – Amoxicillin 500 Mg Amoxicillin 500mg Capsules zlz.nnil.×3dtechnology.com.hwc.wp http://mewkid.net/when-is-xuxlya/



Leave a comment

Please note, comments must be approved before they are published